ช่วงนี้อาจารย์ เก้า เดินสายสวัสดีปีใหม่ ครูบาอาจารย์ทางภาคเหนือก็ทำให้นึกถึงตำนานเรื่องหนึ่งขึ้นมาและเก็บภาพมาเล่า
#รู้ไหมนอกจากครุฑจับนาคแล้วยังมีตัวอะไรจับพญานาคกินได้อีก
#ปฏิมากรรมที่อยู่ทางขึ้นบันไดศาสนสถานที่เข้าใจว่าเป็นพญานาคแต่ภาคเหนือไม่ใช่พญานาค แล้วคืออะไร?
เหราตัวกินพญานาคหรือ มกร (อ่านว่ามะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน)
หรือมีอีกชื่อหนึ่งในโลกป่าหิมพานต์คือเหรา (อ่านว่า เห-รา) หรือบางเรียกว่าตัวสำรอก
ลักษณะของตัวนี้กล่าวกันไว้ว่า เป็นลูกผสมระหว่างมีพ่อเป็นนาค ส่วนแม่เป็นจรเข้ โดยมีช่วงลำตัวยาวเหมือนนาคแต่ว่ามีขา งอกออกมา ที่ส่วนหัวมีลักษณะเหมือนนาคแต่ว่าตรงปากนั้นเป็นจระเข้
มีตำนานเล่าขานกันว่า ครั้งหนึ่งมีพญานาค 2 ตน มีชื่อว่า พินทะโยทะวาติ และ ทะยะมูล ได้ปกครองหนองน้ำขนาดใหญ่ (ปกครองตนละด้าน) ชื่อว่าหนองแสง ได้เกิดการบาดหมางและต่อสู้กันอย่างรุนแรง ทำให้สัตว์น้อยใหญ่เดือดร้อน สรรพสัตว์จึงอ้อนวอนให้พระศิวะลงมาปราบ พระศิวะได้ส่ง เหรา ลงมาปราบพอเหรา ปราบได้สำเร็จ พญานาคก็กลัวเหราจะจับกินจึงพากันหลบหนีไป ทิ้งร่อยรอยการหลบหนี กลายมาเป็นแม่น้ำโขงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เหรายังเป็นสัตว์พาหนะองค์เทพอีกหลายองค์ เช่น พระแม่คงคา และ พระวรุณ
อีกตำนานเล่าว่า เหราเป็น สัตว์ให่ญ่ในลำน้ำโขง โลดแล่นอยู่ในสายน้ำ ที่มีความทะเยอทะยาน อยากยิ่งใหญ่เป็นเจ้าแห่งสายน้ำในลำน้ำโขง...และมีความอิจฉา พญานาค..ที่ได้มีชื่อ ในพุทธศาสนา เวลามีคนที่จะบวช..จะถูกเรียกว่า "นาค " ยิ่งทำให้ เหรา หรือ มกร มีความโกรธ และอาฆาตแค้นพญานาค มากขึ้นไปอีก และหาทางจะเอาชนะพญานาคให้ได้ จึงท้าทายประลองกำลังกันว่า ถ้าเหรากลืนกินพญานาคได้ทั้งตัวก็จะชนะพญานาคได้ แต่ก็ไม่สามารถกลืนส่วนหัวของพญานาคได้
และเราก็มักจะพบเห็น เหรา และ พญานาค ตามบันใดวัดต่างๆ ศาสนสถานทางภาคเหนือ
• รู้แล้วบอกต่อคลายข้อสงสัยโดย อาจารย์ เก้า
• อยากได้ของดี แกลเลอรี่ 100 ล้าน
• อาจารย์ เก้า มี!
ทิ้งข้อความไว้